โดย : admin | เมื่อ : 2017-04-18 15:00 | เข้าชม : 1725
1. ชนะความโกรธด้วยการให้อภัย
ชนะความโกรธด้วยการให้อภัย มันเริ่มต้นจากความไม่พอใจ อรติ แปลว่า ความไม่พอใจ บางทีแปลว่า ความริษยา ปฏิฆะ ความขัดเคืองหงุดหงิด โกธะ โทสะพลุ่งพล่านคิดประทุษร้าย ถ้าทำได้ก็ทำไปทำด้วยกายบ้าง วาจาบ้าง โกธะ คือขุ่นมัวหรือที่เรียกว่าโกรธโกรธนั้นเป็นภาษาที่ยังไม่ได้แปล โกรธนี่ยังไม่ถึงกับลงมือแต่ว่าด่าก่อนคือขุ่นอยู่ภายใน ยังไม่แสดงออกทั้งกาย วาจา ใจ แต่ถ้าโทสะแล้วลงมือเลย โทสะนั้นพลุ่งพล่านออกมามันกลายเป็นในระดับพฤติกรรม ข้างต้นกว่านั้นมันก็ยังอยู่ใน พวกปริยุฏฐานกิเลสพวกกลุ้มรุมอยู่ในจิตใจถ้าทำได้ก็ทำไป ถ้า ทำไม่ได้ก็ผูกพยาบาทกันไป คราวหน้าจะเล่นงานให้สะใจ อันนี้เป็นพยาบาทพอเป็นพยาบาทก็เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล เป็นกรรมบถขาด ขาดตรงที่พยาบาท เพียงแต่โกรธก็ยังไม่ขาด
โทสะถ้ายังไม่กระทำก็ยังไม่ขาด แต่ถ้ามาถึงพยาบาท ศีลกรรมบถก็ขาด เพราะว่ามันมีมโนกรรมอยู่ตัวหนึ่ง คือพยาบาท อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิอันนี้พูดถึงกระแสสายของความโกรธ
คราวนี้ก็เอาชนะเอาชนะความโกรธด้วยการให้อภัย ก็ นึกว่าคนเราทุกคนมีข้อบกพร่อง เขาก็มีข้อบกพร่อง คนอื่นก็มี ข้อบกพร่องคนเราดีไม่ทั่วชั่วไม่หมด บางส่วนดีบางส่วนไม่ดี ก็ให้อภัยไป พยายามให้อภัยไปเอาชนะความโกรธได้ด้วยการให้อภัย คนเก่งๆนักปราชญ์ เป็นนักให้อภัยทั้งนั้น พระพุทธเจ้า พระเยซู มหาตมะ คานธี หรือใครที่เป็นคนทางด้านนี้เขาเป็นนักให้อภัย ให้อภัยแล้วใจสบายความโกรธก็หมดไปด้วย
เราควรจะให้อภัยคนเช่นไร ให้อภัยแก่คนที่ควรให้อภัย ถ้าเผื่อว่าต้องเอาโทษก็ต้องลงโทษตามสมควร คือถ้าเขาทำผิดก็ต้องลงโทษ ไม่ใช่ให้อภัยเรื่อยไปอย่างนั้นไม่ได้ มันผิดหลักการปกครอง หลักการปกครองมันอยู่ที่ว่าลงโทษคนที่ควรลงโทษ ให้รางวัลสำหรับคนที่ควรให้รางวัล ข่มคนที่ควรข่มยกย่องคนที่ควรยกย่อง คนที่ทำความผิดเป็นอาจิณ เราก็อภัยอยู่เรื่อยอย่างนี้ใช้ ไม่ได้ พลอยทำให้เขาเสียถ้าเป็นลูกก็ทำให้เขาเสีย เราต้องไม่ประพฤติธรรมให้คนอื่นเขาเสียอย่างเมตตากรุณาก็เป็นการฆ่าความโกรธ ละความโกรธแต่เราต้องไม่เมตตากรุณาจนเสียความ ยุติธรรม ความยุติธรรมมันเว้นอคติ ไม่มีอคติ เว้นอคติ 4 ก็คือ ความยุติธรรมถ้าบอกว่าใช้เมตตาด้วยอคตินี่ไม่ได้เลย เพราะว่า เป็นลูกของเรา เป็นลูกน้องของเรา ต้องใช้เมตตาอย่างนี้ทำให้ เสียความยุติธรรมถ้ามีอคติแล้วเสียความยุติธรรม
ถ้าเผื่อ 2 อย่างคือ เมตตากรุณากับความยุติธรรมมา เผชิญหน้ากัน หมายความว่าถ้าจะประพฤติเมตตากรุณา ก็จะเสีย ความยุติธรรม ถ้าตั้งอยู่ในความยุติธรรมก็จะเสียความเมตตา กรุณาอย่างนี้ให้เลือกเอาอย่างไร อันนี้ทางจริยศาสตร์ท่านให้ตั้งอยู่ ในความยุติธรรม ยอมเสียเมตตากรุณาความจริงเมตตากรุณามัน แฝงอยู่ในความยุติธรรม คือเมตตาต่อเขา ไม่อยากให้เขาเสียมาก ไปกว่านั้น ก็เลยทำไปด้วยความยุติธรรมดูเหมือนว่าไม่มีเมตตากรุณา ความจริงเมตตากรุณามันก็แฝงอยู่ในความยุติธรรมนั่นแหละแต่บางทีก็ทำไปด้วยความเมตตากรุณา ให้อภัยแล้วก็เสียความยุติธรรม ยกตัวอย่างเช่น พวกเราเป็นครูถ้านักเรียนส่งข้อสอบในการสอบ เราก็มีเมตตากรุณากับนักเรียน เราก็ให้ A หมดเลย สงสารให้ A หมดเลย ตอบผิด ตอบถูก ตอบดี ตอบปานกลาง ก็ A หมด อย่างนี้มันเสียความยุติธรรมคนที่ตั้งใจเรียนดีได้ A ก็ไม่ยุติธรรม เพราะคนที่ไม่เรียนเลยได้ A คนที่ได้ A โดยไม่ควรได้ก็จะเสียความนับถือเอาด้วย
เพราะฉะนั้นเรื่องเมตตากรุณาจึงต้องมองถึงความยุติธรรม ด้วย เมตตากรุณาที่เสียความยุติธรรมนี่ใช้ไม่ได้เลยต้องดำรงรักษาความยุติธรรมเอาไว้ ถ้าเผื่อมันมาเผชิญหน้ากันการละความโกรธด้วยการให้อภัยการให้อภัยในที่นี้ก็จะต้องมีความยุติธรรมหรือตัวอุเบกขา เข้ามากำกับด้วยอุเบกขาไม่ใช่เฉยๆ เป็นตัวเว้น อคติ เมตตาเกินอุเบกขา กรุณาเกินอุเบกขามุทิตาเกินอุเบกขา ถ้าอย่างนี้ก็เสียความยุติธรรม อุเบกขาเป็นธรรมะตัวรักษาธรรม เมตตา กรุณา มุทิตาเป็นการรักษาคนแต่อุเบกขาเป็นการรักษาธรรม ถ้าไม่เสียความยุติธรรมก็ใช้ได้ถ้าเสียความยุติธรรมก็คง ไม่ได้
ความโกรธลองดูเข้าไปในคุก คนในคุกนี่ ความโกรธ ความโลภ ความหลง อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสามอย่างรวมกันมันส่งเข้าไปแล้วก็มองไปทางไหนก็ดูเหมือนว่า เห็นแต่คนที่ลำบาก ก็กิเลส 3 ตัวนี้เป็นตัวก่อตั้งแต่ถ้าโกรธจนระงับไม่อยู่ก็ต้องลำบาก สุดแล้วแต่ตัวไหนจะออกหน้าตัวไหนเป็นแรงหนุน
ทีนี้มองดูไปอีกแง่ว่าทรัพย์สมบัติ ชีวิตแล้วก็เวลาที่มีค่า ของมนุษย์ก็ถูกทำลายล้างผลาญไปเพราะความโกรธ โลภ หลง มากมายเหลือเกิน ในที่นี้เน้นเรื่องความโกรธนะครับหรือว่าเน้นเรื่องความหลงด้วยก็ได้ พวกนักการพนันนี่เพราะความหลงหลงคิดว่าเล่นการพนันแล้วจะรวย ปรากฏว่าพออยากรวยก็เกิดความโลภขึ้นมาเล่นไปแล้วเกิดเสียขึ้นมาก็เกิดความโกรธ ยิงกัน โกงกัน ก็กล้าเสี่ยง พวกนี้กล้าเสี่ยง กล้าได้กล้าเสียกล้าทำ ทีนี้มองไปอีกแง่ว่ากุศลกรรมหรือความดี ก็ไม่ต้องเสี่ยงเลย เกิดผลดีอย่างเดียว แต่ว่าทำไมคนจึงไม่ค่อยกล้าทุ่มตัวลงไปให้หมดตัว ถ้าถือตาม พระพุทธภาษิตก็ได้นะครับพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ทุสฺสีโล หิ พหุชฺชโน คนส่วนมากเป็นคนชั่วเป็นคนทุศีล
เหมือนกับที่สญชัยปริพาชกพูดกับพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรว่า “คนฉลาดก็ไปหาพระพุทธเจ้าคนโง่ก็มาหาเรา” คนโง่ในที่นี้ก็คือคนทุศีล “ตราบใดที่คนโง่ยังมาหาเราอยู่ไม่ต้องกลัวว่าจะอดตาย” อยู่กับคนโง่
บางคนบอกว่า “หาว่าผมโง่ ผมโง่ผมมีเงินเยอะได้ อย่างไร” คนโง่นี่เป็นคนมีเงินก็ได้ เป็นคนจนก็ได้ อย่างพราหมณเอกสาฎกเขามีผ้าผืนเดียว สุดท้ายก็ได้ดวงตาเห็นธรรมจนก็ฉลาด
ได้หรือนางวิสาขาถือว่าเป็นคนรวยก็ฉลาดแต่ว่าพ่อผัวเป็นคนรวย
ก็โง่เรียกว่าการที่ร่ำรวยหรือว่าเรียนสูงๆไม่ได้เป็นเครื่องประกันว่าเป็นคนโง่หรือคนฉลาดในความหมายของศาสนาพุทธ
ถือตามพระสูตรบางพระสูตร ที่ท่านกำหนดไว้พระมหาโกฏฐิตะถามพระสารีบุตรว่า “คนเช่นไรเรียกว่าเป็นผู้มีปัญญาดี” พระสารีบุตรตอบว่า “ไม่รู้อริยสัจตามความเป็นจริงเรียกว่า คนมี ปัญญาไม่ดี เมื่อรู้อริยสัจตามความเป็นจริงแล้วเรียกว่าเป็นผู้มี ปัญญาดี” ถ้าเอาตรงนี้เป็นหลักคนก็มีปัญญาน้อยเหลือเกิน เพราะ ว่ารู้อริยสัจตามความเป็นจริงนี่รู้ยากต้องละสมุทัยด้วย รู้แจ้ง นิโรธรู้ทุกข์ตามความเป็นจริง แล้วมรรคก็เจริญได้บริบูรณ์ด้วย สมุทัยที่ควรละก็ละได้ด้วย เรียกว่ารู้จริงอันนี้กำหนดอย่างสูง ถ้าเอาตามมาตรฐานคนโง่ก็ยิ่งมากขึ้น
ทีนี้ก็มีคนแย้งว่าถ้าโลกมีแต่คนชั่วป่านนี้โลกคงแตกไป แล้วแสดงว่าโลกนี้มีคนดีมาก โลกจึงอยู่ได้ มันก็อยู่ได้ แต่มัน ก็อยู่อย่างเลอะๆ อยู่อย่างรบราฆ่าฟันกันไม่ได้อยู่อย่างสะอาด
2. ชนะความอยาก ด้วยความเสียสละ
ความอยากในที่นี้คืออิจฉา อิจฉาคือความอยาก ความต้องการ อิจฉาตัวนี้ ถ้าหากอยากมากขึ้นมันก็เป็น มหิจฺฉา ถ้ามากขึ้นอีกแล้วไม่ได้โดยทางที่ชอบ มันก็เป็น ปาปิจฺฉา คือ ปรารถนาในทางชั่ว เมื่อปรารถนาในทางชั่วแล้วต่อไปมันก็เป็น อภิชฌา- วิสมโลภะ คือโลภอยากได้ของผู้อื่นในทางที่ผิด
เอาชนะความอยากด้วยความเสียสละ คือมีความอยากถ้าไม่เสียสละ มันก็ละไม่ได้ มันต้องมีน้ำใจเสียสละ มีจิตใจเสียสละจึงละได้ คือถ้าไม่เสียสละบ้างมันก็อยากอยู่นั่นแหละ ไม่พอ หากเสียสละแล้วจะรู้สึกว่ามันจะไปอิ่มใจกับความเสียสละ
มีบางคนเสียสละเหมือนกัน แต่ว่าเสียสละเพื่อวัตถุประสงค์ อย่างอื่น เช่น สมมุติว่าจะทำบุญบ้าง ก็ทำไปเพื่อที่ประกาศให้คน เขารู้ว่าเรามันแน่ มีเงินมาก ถ้าเสียสละอย่างนี้ถือว่าถูกต้องไหม อันนี้ก็เสียสละ แต่ว่ามันมีกิเลสตัณหานำมา
ผมขอยกตัวอย่างสักเรื่องหนึ่ง ตัวอย่างคนโดยสารแท็กซี่ พอเห็นถุงกระดาษอยู่ที่เบาะหลัง ลองเปิดดูก็เห็นเป็นธนบัตรใบละ 100 จำนวนมาก ปึกใหญ่เลย ตั้งสมมุติฐานว่าเป็นของผู้โดยสาร คนก่อนลืมไว้ มองดูคนขับแท็กซี่ก็รู้ว่าเขาไม่รู้เรื่อง ทีนี้ถ้าจะถือ เอาเป็นกรรมสิทธิ์ของตัวเสียก็คงจะได้ ก็ลังเลอยู่นานว่าจะทำอย่างไรดี ความเห็นแก่ตัวกับความเห็นแก่ธรรมคือความถูกต้อง และความเห็น ใจผู้อื่น ก็รบกันอยู่ในจิตใจของเขาชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ในที่สุดก็ตัดสินใจบอกแท็กซี่ให้แวะที่สถานีตำรวจที่เป็น ทางผ่าน แล้วมอบเงินจำนวนนั้นให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบหาเจ้าของเงินตามหลักฐาน ตำรวจตามตัวเจ้าของเงินมารับเงินคืนไปได้ พร้อมทั้งนัดผู้เก็บเงินได้ให้มาพบ เจ้าของเงินดีใจมากเลย ลงกราบผู้ที่ไม่เห็นแก่ตัวด้วยความเคารพเลื่อมใสจากใจจริง แล้วก็น้ำตาไหล คือปราโมทย์น้ำตาไหล
เมื่อสนทนากันไปก็ได้รู้ว่าเงินจำนวนนั้น เจ้าของเงิน กำลังจะเอาไปให้เจ้าของที่ เจ้าของบ้านซึ่งเขาผ่อนส่งไว้ ขาดส่ง มาหลายงวดแล้ว หาเงินไม่ทัน พอได้เงินมาก็รีบเอาไปให้ รีบเอา ไปใช้เขา ลูกก็ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล ใจก็กังวลถึงแต่ลูกจนลืม ของสำคัญ เพราะว่ามีของหลายอย่าง หอบหิ้วพะรุงพะรัง พอลงจากแท็กซี่ก็รู้สึกหิว แวะทานอาหาร ขณะรออาหารก็สำรวจดูจึงรู้ว่าลืมถุงเงินเอาไว้ แต่ไม่รู้จะไปตามแท็กซี่ได้ที่ไหน กลุ้มใจจนทำอะไรไม่ถูก เพราะว่าถ้าไม่ส่งเงินงวดนี้อีก เจ้าของที่หรือเจ้าของบ้านเขาจะยึดคืน
ฟังเล่าแล้วผู้เก็บเงินได้ก็ปีติจนขนลุกซู่ไปหมด รู้สึก เอิบอิ่มใจเป็นที่สุด เป็นเรื่องที่จะต้องจดจำไปตลอดชีวิต รู้สึกขึ้น ทีไร ก็ปลื้มใจสุขใจทีนั้น รู้สึกว่าได้ตัดสินใจถูกที่ไม่เห็นแก่ตัว ไม่อยากได้ ไม่ยอมทำตามข้อเสนอแนะของความโลภ ความอยาก แต่ทำตามข้อเสนอแนะของธรรม คือความไม่โลภ ไม่อยากได้ ไม่เห็นแก่ตัว แต่ก็จำไปตลอดชีวิตนะครับ ต่อไปก็ไปเล่าให้ลูกหลาน ฟังได้ โดยความภาคภูมิใจ
3. ชนะความโลภ ด้วยความอดทนและสันโดษ
ความโลภมีหลายระดับความโลภอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียด ก็มีความแตกต่างกัน
ความโลภอย่างหยาบคือความโลภในทางทุจริต อภิชฌา- วิสมโลภะ
ความโลภอย่างกลางคือไม่รู้จักพอ อยากได้ในทางสุจริต ทำมาหากินในทางสุจริต แต่ว่าไม่รู้จักพอ ไม่มีเพดาน อยากได้มากเกินไปเกินขอบเขต ก็ถือเป็นความโลภเหมือนกัน แต่เป็นอย่างกลาง มันก็ไม่ดีเหมือนกันทำให้เราเอาเปรียบคนอื่น ถ้าเรามีของที่เกินจำเป็นมากๆก็ทำให้คนอื่นที่ควรจะได้ไม่ได้ทำให้คนอื่นเขาเสียโอกาส
ความโลภอย่างละเอียด ท่านใช้คำว่า สิทธิโลภะหมายถึงความติดใจในสิ่งของที่เป็นของตัว จิตใจหมกมุ่นพัวพันใน สิ่งของที่เป็นของตัว เช่นว่ามีเสื้อผ้าเยอะๆ ก็รู้สึกจิตใจพัวพัน
หมกมุ่นในสิ่งของที่ตัวมีอยู่อย่างคนที่สะสมอะไรเยอะแยะเกินความ จำเป็น อันนี้ก็เป็นความโลภอย่างละเอียดถ้าไม่พิจารณาก็ไม่เห็น
ที่เขาเล่ากันว่าสมเด็จพระสังฆราช ที่วัดบวรนิเวศฯ องค์ ก่อนหน้าท่านสมเด็จฯ กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ท่านมีถ้วยชาอยู่ใบหนึ่งบางเหมือนใบข้าว ท่านก็ใช้อยู่เป็นประจำ วันหนึ่ง เด็กไป ทำแตก ก็วันต่อมาก็เอาถ้วยชาอีกใบเข้าไปตัวสั่นเชียว กลัวท่านดุ ท่านถามว่าใบที่ใช้เป็นประจำไปไหน ก็ตอบว่าแตกเสียแล้ว เอ้อดี! หายห่วงไปที
อาจารย์ทองขาวเล่าว่า
“เรื่องนี้ผมก็เคยประสบกับตนเอง ท่านอาจารย์เมื่อตอน เป็นเณรอยู่ที่สุพรรณฯอาจารย์ที่เลี้ยงผมมาตั้งแต่เล็กๆ ท่านจะมีป้านน้ำชาอยู่ใบหนึ่ง ท่านรักมากป้านใบอื่นชงชาแล้วไม่อร่อย ต้องใบนี้ เช้าขึ้นมาก็ต้องไปล้างแล้วเอามาชงน้ำชาให้ท่าน ท่านบอกว่าอร่อยดี มันอาจเป็นเพราะว่ามันเป็นป้านที่เก่าไอกลิ่นชา ใบชา มันก็คงเกาะอยู่ที่ตัวมันนั่นนะ ทำให้อร่อย วันหนึ่งผมก็ไปล้างแล้วก็ทำหูแตก
ทั้งพระทั้งเณรในวัดก็กะแล้วว่าเณรขาวนี่ถูกตีแน่นอน ไปทำของรักของหวงแตกผมก็ตัดใจบอกว่า หลวงตาครับผมทำหูกาน้ำนี่แตก ครับ ท่านพูดคำเดียวบอกว่า “เออ” แค่นั้นก็จบก็แสดงว่าท่านก็คงละได้”
เข้าถึงครับว่าสิ่งนี้มีความแตกเป็นธรรมดา
|