พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปปางต่างๆ:ปางพระพุทธรูป ของประเทศไทยซึ่งมีที่มาของ พระพุทธรูปปางต่าง ๆ จากพุทธประวัติ รวบรวม"พระพุทธรูปปางต่างๆ" ในพระอิริยาบถลักษณะต่างๆของ ปางพระพุทธรูป ที่ได้รวบรวมใว้
ประวัติการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ในประเทศไทย ปางพระพุทธรูป ของไทยจากพุทธประวัติ
ในระยะแรกหลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนิกชนก็ได้นำเอา ดิน น้ำ และใบโพธิ์จากสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน) ตรัสรู้ (พุทธคยา) ปฐมเทศนา (พาราณสี) และ ปรินิพพาน (กุสินารา) เก็บมาไว้เพื่อบูชาคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมามีการสร้างรูปอื่นที่เป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ เช่น ทำดวงตราสัญลักษณ์ประจำสถานที่ต่างๆ ขึ้น ด้วยดินเผาหรือแผ่นเงิน เช่นที่เมืองกบิลพัสดุ์สร้างตราดอกบัว หมายถึงมีสิ่งบริสุทธิ์เกิดขึ้น และตราม้า หมายถึงม้ากัณฐกะ ที่เมืองพาราณสีสร้างตราธรรมจักร มีรูปกวางหมอบอันหมายถึงการแสดงธรรมจักร และพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงสร้างเสาหินอโศกไว้ในสถานที่ประสูติ เป็นต้น
ส่วนการสร้าง"พระพุทธรูป " พระพุทธรูปปางต่างๆ ในประเทศไทย มีประวัติความเป็นมาดังนี้ คือ ตามตำนานพุทธประวัติกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าปเสนธิโกศลแห่งแคว้นโกศล ได้โปรดให้ช่างจำหลักพระรูปเหมือนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นจากไม้แก่นจันทร์ เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธองค์ที่เสด็จไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา นับเป็นการสร้างพระพุทธรูป เป็นครั้งแรก แต่ตำนานพระแก่นจันทร์นี้ บางท่านกล่าวว่าเป็นเพียงตำนานที่ยังไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้อย่างชัดเจน ถ้าไม่นับพระแก่นจันทร์ก็สันนิษฐานกันว่า พระพุทธรูป นั้นเริ่มสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ ๗ ตั้งแต่สมัยคันธารราฐ ซึ่งเป็นแคว้นที่อยู่ทางตอนเหนือ ของอินเดียโบราณ (ปัจจุบันอยู่ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานและตะวันออกของอัฟกานอสถาน) ผู่ริเริ่มสร้างไม่ใช่ชาวอินเดียแต่เป็นพวกโยนก (กรีก) สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างในสมัยพระเจ้าเมนันเดอร์หรือพระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีกแห่งแคว้นคันธาระ หรือคันธาราฐ
เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชนำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในคันธาราฐ พวกโยนกยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา พระเจ้ามิลินท์มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก แสดงองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจิริญรุ่งเรือง แต่เดิมนั้นพระพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพแต่อย่างใด เพราะในสมัยอินเดียในสมัยนั้นมีข้อห้ามในการทำรูปเคารพ แต่เคยนับถือศาสนเทวนิยมและจำหลักรูปเคารพของเทพเจ้ากลุ่มโอลิมปัสมาก่อน เช่น รูปอพอลโลและซีอุส เมื่อเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา ก็เลยจำหลักศิลารูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
"พระพุทธรูปปางต่างๆ ปางพระพุทธรูป "ขึ้นเคารพบูชาเป็นครั้งแรก ซึ่งเราจะพบว่าการสร้าง พระพุทธรูปปางต่างๆ นั้นส่วนใหญ่สร้างตามพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า เป็นประติมากรรมพุทธประวัติตั้งแต่พระองค์ประสูติ จนถึงนิพพานเลยมีการสร้าง พระพุทธรูปปางต่างๆ เพื่อเป็นการระลึกถึง เป็นสัญลักษณ์ให้เราได้มีพุทธานุสสติ คือระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงมี พระคุณอันล้ำเลิศเพื่อประโยชน์สุขต่อมนุษยชาติและสัตว์โลกทั้งปวงเลยมีการสร้าง พระพุทธรูปปางต่างๆขึ้นมา
ภาพ/ข้อมูล ธรรมะไทย - http://www.dhammathai.org/indexthai.php
ประวัติการสร้างพระพุทธรูป
พระพุทธรูป หรือ พระพุทธปฏิมากร คือ รูปเปรียบ หรือ รูปสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระศาสดาแห่งพุทธศาสนา หลังจากพุทธปรินิพพานล่วงเลยนานแล้วสร้างตามลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ ที่ปรากฏในมหาปุริสลักษณะ มิใช่การทำให้เหมือนองค์พระพุทธเจ้า แต่สร้างขึ้นเพื่อน้อมรำลึกถึง พระพุทธคุณและเพื่อสักการบูชาแทนองค์พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อน้อมใจให้ประพฤติตามคำสอนของพระองค์
ตลอดจนเป็นสิ่งจรรโลงสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนถาวรสืบไป ตราบใดยังปรากฏพระพุทธรูปอยู่ หมายถึงว่า พระรัตนตรัย อันเป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนายังคงอยู่บริบูรณ์ เป็นเครื่องสร้างศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไปให้เลื่อมใสอุปถัมภ์บำรุงพุทธ ศาสนาสืบไป
สำหรับประวัติการสร้าง พระพุทธรูปบูชา ปรากฏในหนังสือจดหมายเหตุ ระหว่างการเดินทางไปอินเดียของ หลวงจีนฟาเหียน เมื่อราว พ.ศ.๙๕๐ ปรากฏใน ตำนานพระแก่นจันทน์ คือ
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปทรงเทศนาโปรดพระพุทธมาร ดาบนดาวดึงส์สวรรค์พรรษาหนึ่งนั้น พระเจ้าประเสนทิโกศล แห่งแคว้นโกศล มีความรำลึกถึงพระพุทธองค์ ด้วยมิได้ทรงเห็นเป็นช้านาน จึงตรัสให้นายช่างทำ พระพุทธรูปขึ้นด้วยไม้แก่นจันทน์แดง ประดิษฐานไว้เหนืออาสนะที่พระพุทธองค์เคยประทับ
ครั้นพระพุทธองค์เสด็จกลับลงมาจากดาวดึงส์ถึงที่ประทับ ด้วยพระบรมพุทธานุภาพ ก็บันดาลให้พระพุทธรูปแก่นจันทน์ เลื่อนหลีกจากพระพุทธอาสน์ จึงตรัสสั่งให้รักษา พระพุทธรูปนั้นไว้ เพื่อสาธุชนจะได้ใช้เป็นแบบอย่าง สร้างพระพุทธรูปสืบไป
ตำนานพระแก่นจันทน์ ที่สร้างขึ้นตามพระบรมพุทธานุญาตแต่สมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ยังทรงมีพระชนม์อยู่ ขัดต่อหลักฐานทางศิลปกรรมในพระพุทธศาสนา ที่เก่าแก่ที่สุดใน สมัย พระเจ้าอโศกมหาราช หามีการสร้างพระพุทธรูปไม่ มีแต่ทรงทำรูปสัญลักษณ์อื่นๆ เช่น รอยพระพุทธบาท ธรรมจักร เป็นต้น
จากหลักฐานทางศิลปโบราณวัตถุสถานและพงศาวดารเหล่าปราชญ์จึงสันนิษฐานว่า ตำนานเรื่องพระแก่นจันทน์ อาจเกิดขึ้นภายหลังจากที่มีคตินิยมในการสร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ หรือพระพุทธรูปนั้น และสามารถสรุปได้ว่า พระพุทธรูปเริ่มปรากฏเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกภายหลัง สมัยพระเจ้ามิลินท์ หรือ พระเจ้าเมนันเดอร์ ในคันธารราฐ เป็นศิลปะคันธารราฐ แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จนถึงสมัย พระเจ้ากนิษกะ แห่งราชวงศ์กุษาณะ ทรงปกครองอยู่โดยทรงตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองเปษวาร์ มีเมืองมถุราเป็นศูนย์กลาง ทางทิศใต้ลุ่มแม่น้ำคงคา-ยมุนา ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภกพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง จึงนิยมสร้างพระพุทธรูปแทนองค์พระศาสดา ในรูปแบบมนุษย์เป็นพุทธเจดีย์กันทั่วไป สรุปการสร้าง พระพุทธรูปปางต่างๆ เป็นการสร้างตามพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า เป็นประติมากรรมพุทธประวัติตั้งแต่พระองค์ประสูติ สร้างเป็น แบบปางพระพุทธรูปจาก พระพุทธรูปปางประสูติ จนถึงนิพพาน ซึ่งเป็นรปแบบของ พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปปางชนะมาร พระพุทธรูปปางชนะมาร เป็นพระพุทธรูปปางที่สร้างขึ้นจากพระพุทธประวัติตอนที่พระพุทธเจ้าผจญมาร ซึ่งมีพระแม่ธรณีบีบมวยผมอยู่ตรงฐาน ก่อนที่จะตรัสรู้ ภาวนาทำจิตให้แน่วแน่ ปราศจากกิเลสโดยลำดับและตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด |
|
พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงคุณค่าของ พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง ในงาน"เรื่องประติมากรรมไทย" พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง นั้น "ศิลปะอู่ทองมีค่ายิ่งกว่าของอยุธยาและรัตนโกสินทร์ โดยเหตุที่มีแบบวิธีแปลกและมีคุณค่าของศิลปะอู่ทอง เป็นอาการปรากฏดีที่สุดในหมู่สกุลช่างต่างๆ |
|
พระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย ศิลปะแบบบายน(เขมร) พระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย ศิลปะแบบบายน(เขมร): พระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย สำริด ศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย สมัยบายน แย้มสรวล นิยมเรียกว่า "ยิ้มแบบบายน" |
|
ประวัติการสร้างพระพุทธรูป ประวัติการสร้างพระพุทธรูป จากหนังสือ ตำนานพระพุทธเจดีย์ โดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องประวัติการสร้างพระพุทธรูป นักปราชญ์ในชั้นหลังสอบเรื่องพงศาวดาร ประกอบกับพิจารณาโบราณวัตถุที่ตรวจพบในอินเดียได้ความเป็นหลักฐานว่า พระพุทธรูปเป็นของพวกโยนกที่เริ่มมี พระพุทธรูปปางต่างๆ |
|
ตำนานพระแก่นจันทร์ ตำนานพระแก่นจันทร์นี้ บางท่านกล่าวว่าเป็นเพียงตำนาน(พระแก่นจันทร์)ที่ยังไม่ |
|
๑.พระพุทธรูปปางประสูติ พระพุทธรูปปางประสูติ ตามพุทธประวัติความเป็นมาของ พระพุทธรูปปางประสูติ ซึ่ง"ปางประสูติ" คือประติมากรรมพุทธประวัติ ตอนพระนางสิริมหามายา (พุทธมารดา) ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาทรงเหนี่ยวกิ่งสาละ พระบรมโพธิสัตว์อยู่อิริยาบถยืน |
|
๒.พระพุทธรูปปางมหาภิเนษกรมณ์ พระพุทธรูปปางมหาภิเนษกรมณ์ ซึ่งเป็นรูปพระโพธิสัตว์ทรงเครื่อง พระพุทธรูปปางมหาภิเนษกรมณ์ หนึ่งใน พระพุทธรูปปางต่างๆ ปางมหาภิเนษกรมณ์ จากพุทธประวัติเจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะ เกาะหลังม้าตามเสด็จ ขาม้าทั้ง ๔ ขา มีท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ประจำอยู่ นำพระองค์เหาะข้ามกำแพงพระนครออกไปด้วยปาฏิหารย์ |
|
๓.พระพุทธรูปปางตัดพระเมาลี พระพุทธรูปปางตัดพระเมาลี เป็นการสร้าง"พระพุทธรูปปางตัดพระเมาลี" ตามประติมากรรมพุทธประวัติ "ปางตัดพระเมาลี (มวยผม)" ตอนเจ้าชายสิทธัตถะอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) บนพระแท่นพระหัตถ์ซ้ายทรงรวบพระเมาลีไว้ พระหัตถ์ขวาทรงพระขันค์ทำอาการทรงตัดพระเมาลี มีนายฉันนะและม้ากัณฐกะอยู่ด้านหลัง |
|
๔.พระพุทธรูปปางอธิษฐานเพศบรรพชิต พระพุทธรูปปางอธิษฐานเพศบรรพชิต ประวัติ พระพุทธรูป ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต ซึ่งความเป็นมาของ ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต ตามพุทธประวัติเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกพ้นเขตกรุงกบิลพัสดุ์จนมาถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา จึงเสด็จลงจากหลังม้า ประทับเหนือหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำ รับสั่งแก่นายฉันนะว่า พระองค์จะบรรพชาถือเพศเป็นบรรพชิต ณ ที่นี้ |
|
๕.พระพุทธรูปปางปัจจเวกขณะ พระพุทธรูปปางปัจจเวกขณะ วัดปฐมเจดีย์ พระพุทธรูปปางปัจจเวกขณะในความเป็นมาของ พระพุทธรูป ปางปัจจเวกขณะนั้นเป็นตอนที่พุทธองค์ ทรงเตือนตนในบรรพชิต ว่าต้องอาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีพ ไม่มีสิทธิ์เลือกอาหารตามใจชอบ |
|
๖.พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นหนึ่งใน พระพุทธรูปปางต่างๆ พระพุทธรูป ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นตอนที่พระบรมโพธิสัตว์ทรงกระทำทุกรกิริยา เช่น ลดอาหารลงทีละน้อยจนถึงงดเสวย ร่างกายซูบผอม พระโลมา ( ขน ) มีรากเน่าหลุดออกมา |
|
๗.พระพุทธรูปปางทรงพระสุบิน พระพุทธรูปปางทรงพระสุบิน พระพุทธรูป อยู่ในพระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา พระพุทธรูปปางทรงพระสุบินและความเป็นมาของ ปางทรงพระสุบิน หนึ่งในปางพระพุทธรูปจากพุทธประวัติเมื่อ พระบรมโพธิสัตว์ทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา เพราะทรงเห็นว่ามิใช่หนทางแห่งพระโพธิญาณ ทรงเปลี่ยนมาใช้มัชฌิมาปฏิปทา หรือ การปฏิบัติโดยทางสายกลาง |
|
๘.พระพุทธรูปปางรับมธุปายาส พระพุทธรูปปางรับมธุปายาส วัดปฐมเจดีย์ พระพุทธรูปปางรับมธุปายาสในความเป็นมาของ ปางรับมธุปายาสหนึ่งใน พระพุทธรูปปางต่างๆ ซึ่งในเช้าวันเพ็ญวิสาขะ หรือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ( ปีระกา ) อันเป็นวันครบรอบพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ของพระบรมโพธิสัตว์ นางสุชาดา ธิดาของเศรษฐีผู้หนึ่ง แห่งตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้นำถาดทองคำบรรจุข้าวมธุปายาส |
|
๙.พระพุทธรูปปางเสวยมธุปายาส พระพุทธรูปปางเสวยมธุปายาส วัดปฐมเจดีย์ พระพุทธรูป ปางเสวยมธุปายาส หนึ่งใน พระพุทธรูปปางต่างๆ "ปางเสวยมธุปายาส" จากพุทธประวัติเมื่อนางสุชาดาทูลลากลับไปแล้ว พระบรมโพธิสัตว์เสด็จออกจากร่มไทร ทรงถือถาดข้ามธุปายาส เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา สรงพระวรกาย ( อาบน้ำ ) แล้วประทับริมฝั่งแม่น้ำ |
|
๑๐.พระพุทธรูปปางเสี่ยงบารมีลอยถาด พระพุทธรูปปางเสี่ยงบารมีลอยถาด วัดปฐมเจดีย์ ประวัติ พระพุทธรูปปางเสี่ยงบารมีลอยถาดเป็นหนึ่งใน พระพุทธรูปปางต่างๆ "ปางเสี่ยงบารมีลอยถาด" หลังจากที่พระบรมโพธิสัตว์เสวยข้าวมธุปายาสแล้ว ทรงลอยถาดลงในแม่น้ำเนรัญชรา พร้อมกับทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า "ถ้าจะได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ขอให้ถาดทองลอยทวนกระแสน้ำ |
|
๑๑.พระพุทธรูปปางรับหญ้าคา พระพุทธรูปปางรับหญ้าคา วัดพระปฐมเจดีย์ พระพุทธรูปปางรับหญ้าคา เป็นหนึ่งใน พระพุทธรูปปางต่างๆ "ปางรับหญ้าคา" ตอนพระบรมโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นถาดทองลอยทวนกระแสน้ำดังอธิษฐานจึงทรงโสมนัส ( ดีใจ ) เสด็จสู่ร่มสาละ ครั้นถึงเวลาบ่ายได้เสด็จกลับไปยังอัสสัตถโพธิพฤกษ์มณฑล ( ร่มโพธิ์ ) |
|
๑๒.พระพุทธรูปปางสมาธิเพชร พระพุทธรูปปางสมาธิเพชร วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระพุทธรูปปางสมาธิเพชร เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ขัดสมาธิไขว้พระชงฆ์ หงายฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ความเป็นมาของ ปางสมาธิเพชร หลังจากที่พระบรมโพธิสัตว์รับหญ้าคาจากโสตถิยพราหมณ์แล้ว ทรงนำไปปูต่างบัลลังก์ |
|
๑๓.พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ความเป็นมาของปางมารวิชัย หนึ่งใน พระพุทธรูปปางต่างๆ และการสร้าง พระพุทธรูปปางมารวิชัย จากตอนที่พระบรมโพธิสัตว์ประทับ ณ โพธิบัลลังก์ พญามารวสวัตตีประทับบนหลังช้างคีรีเมฃล์สูง ๑๕๐ โยชน์ ยกทัพมาหมายจะทำลายความเพียรของพระองค์ |
|
๑๔.พระพุทธรูปปางสมาธิ หรือ พระพุทธรูปปางตรัสรู้ พระพุทธรูปปางสมาธิ หรือ พระพุทธรูปปางตรัสรู้ วัดสุทัศนเทพวราราม ความเป็นมาของพระพุทธรูปปางสมาธิ หรือ พระพุทธรูปปางตรัสรู้ เกิดจากพุทธประวัติตอน ที่พระบรมโพธิสัตว์มีชัยชนะเหนือพญามารแล้ว ทรงบำเพ็ญสมาธิต่อไป เมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสปราศจากอุปกิเลสแล้ว ในปฐมยามทรงบรรลุปุพพเนิวาสานุสติญาณ คือ ระลึกชาติได้หลายชาติไม่มีที่สิ้นสุด |
|
๑๕.พระพุทธรูปปางถวายเนตร พระพุทธรูปปางถวายเนตร นี้อยู่ในพระอิริยาบถยืน ปางถวายเนตร ลืมพระเนตร พระพุทธรูปปางถวายเนตร สร้างขึ้นตามตอนหนึ่งของพุทธประวัติที่ว่า ครั้นพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ก็เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ที่ต้นศรีมหาโพธิ์ ๗ วัน |
|
๑๖.พระพุทธรูปปางจงกรมแก้ว พระพุทธรูปปางจงกรมแก้ว พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน การสร้าง พระพุทธรูปปางจงกรมแก้ว เป็นหนึ่งใน พระพุทธรูปปางต่างๆ ปางจงกรมแก้ว คือสัปดาห์ที่ ๓ หลังจากตรัสรู้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเนรมิตที่จงกรมแก้วขึ้น ณ กึ่งกลางระหว่าง อนิมิสเจดีย์ กับ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วเสด็จจงกรม ณ ที่นั้นเป็นเวลา ๗ วัน |
|
๑๗.พระพุทธรูปปางเรือนแก้ว พระพุทธรูปปางเรือนแก้ว พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิในเรือนแก้ว พระพุทธรูปปางเรือนแก้ว เป็นหนึ่งของ พระพุทธรูปปางต่างๆ ปางเรือนแก้ว ตามพุทธประวัติ ในสัปดาห์ที่ ๔ จากวันตรัสรู้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จขึ้นประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ ณ เรือนแก้ว |
|
๑๘.พระพุทธรูปปางห้ามมาร พระพุทธรูปปางห้ามมาร เป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ แสดงอาการห้าม พระพุทธรูปปางห้ามมาร และความเป็นมาของปางห้ามมารตามพุทธประวัติ หลังจากทรงพิจารณาธรรมในเรือนแก้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเ&a |